วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ผลงานวิจัยของอาจารย์ ชุดที่ ๑

การใช้แบบฝึกการพัฒนาเรื่องการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปีการศึกษาที่ ๒๕๕๑ โรงเรียนแอ็ดเวนตีสเอกมัย
โดย
อาจารย์ดวงใจ แพงพงา
ผลการวิจัยพบว่า
1.ในการเรียนคำควบกล้ำเมื่อนักเรียนได้เริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยการฝึกการวางริมฝีปาก
และประสาทสัมผัสทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ๑๔เปอร์เซ็นต์
2.การได้ทำแบบฝึกหัดควบคู่กับการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเข้าใจและปฏิบัติได้ดีขึ้น
3.นักเรียนยังมีปัญหาในการออกเสียงควบกล้ำ ผล และ ผร (17เปอร์เซ็นต์)
เนื่องจากนักเรียนให้เวลาในการฝึกน้อยและนิสัยเดิมที่ติดตัวมา

พฤติกรรมการอ่านหนังสือและการใช้ห้องสมุด ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5
โดย
อาจารย์เรณู อยู่สุข
ผลการวิจัยพบว่า
1.นักเรียนชอบอ่านหนังสือแบบ pop-art มากที่สุดและการอ่านหนังสือที่มีการคิดตาม
เช่นหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์
2.นักเรียนชอบใช้ห้องสมุดในการค้นคว้าและชอบนั่งอ่านแบบมีอิสระ
3.ผลการวิจัยสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสมองที่พบว่าเด็กเรียนรู้ตลอดเวลา
และชอบการสื่อสารกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่

การใช้แบบฝึกในการพัฒนาเรื่อง comparisonของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พ.ศ. 2551 โรงเรียนแอ๊ดเวนตีสเอกมัย
โดย
อาจารย์ วรัญญา วศินคุณากร
ผลการวิจัยพบว่า
1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงกว่าการเรียนร้อยล่ะ 80
2. แบบฝึกหัดชุดที่ 2-5 นักเรียนหนึ่งคนทำคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ เนื่องจากว่านักเรียนคนนี้
มีปัญหาในการอ่าน จึงมีผลต่อการทำแบบฝึกหัด
3. นักเรียนจำนวนสิบสามเปอร์เซ็นต์ที่ทำแบบฝึกหัดชุดที่สองได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ผ่าน
เนื่องจากยังไม่เข้าใจ การใช้the เท่าที่ควร

การเพิ่มศักยภาพการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยการใช้ระบวนการกลุ่ม
โดย
อาจารย์สมพร ลัมภโมกข์
ผลการวิจัยพบว่า
1. เมื่อบทบาทของคูรคือผู้ชี้แนะเท่านั้นจะทำให้นักเรียนต้องคิดเองและทำเอง
จึงทำให้การพัฒนาการดีขึ้นแบบยั่งยืน
2. เมื่อนักเรียนมีโอกาสแสดงออกมากขึ้นทำให้นักเรียนเพิ่มศักยภาพในการช่วยเพื่อนเช่นกัน
3. ระบบเพื่อนช่วยเพื่อนสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนและ พัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและเพื่อนๆ

การสร้างนิสัยเด็กที่ขาดระเบียบ เล่นรื้อของแล้วไม่เก็บที่โดยใช้นิทานพลงและแผ่นภาพ
โดย
อาจารย์ จุฎาลักษณ์ ทองอ่อน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สัปดาห์แรกร้อยล่ะ 20 สัปดาห์ที่2 ร้อยล่ะ 50 และสัปดาห์สุดท้าย ทุกคนมีการพัฒนาการ
ในการเรียนรู้เรื่องวินัย
2. สำหรับเด็กอ่อนวัยการเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติจริงและการเรียนแบบทั้งใช้เวลาในการฝึกฝน

ไม่มีความคิดเห็น: